“ใกล้แค่นี้ เข็มขัดนิรภัย ช่วยได้….”

ถอดบทเรียน เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิต จากอุบัติเหตุจราจร

“เสียงร้องของเด็กชายวัย 9 เดือน ยังได้ยินตลอดเวลาที่เรากำลังช่วยฟื้นคืนชีพ ผู้บาดเจ็บหญิงรายหนึ่งอยู่ในม่าน ที่รูดบังตาไว้ พร้อมกับเสียงของชายสูงอายุนั่งอยู่บนรถเข็น นั่งก้มหน้าและบอกกับเจ้าหน้าที่ ที่กำลังช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรอบๆเตียง ว่า ผมขอนั่งอยู่ในห้อง ผมอยากอยู่ใกล้ๆลูกผม” 

นี่เป็นบทสนทนาบางส่วนที่ถูกถ่ายทอดจากเหตุการณ์ถอดบทเรียนเรื่อง “เข็มขัดนิรภัย”  หลังเกิดเหตุ หญิง 31 ปีขับรถยนต์พาบุตรชายวัย9 เดือน กลับจากรับวัคซีน รถเสียหลักพลิกคว่ำ เสียชีวิต ก่อนถึงบ้าน 50 เมตร

ทั้งนี้เมื่อเวลา 10. 55 น. ของวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน 1669จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับแจ้งจากพลเมืองดี พบรถยนต์พลิกคว่ำ โดยมีผู้บาดเจ็บกระเด็นออกนอกรถ และไม่รู้สึกตัว พร้อมทั้งมีเด็กวัย 9 เดือน ร้องเสียงดังในภายในรถ ของถนนในหมู่บ้านหมู่ที่ 9  ต.อ่าวน้อย อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ด้วย

นายนายมงคล จ๊อกกวีและ นายแสน กลึงกลม เจ้าหน้าที่กู้ชีพ อบต.อ่าวน้อยแจ้งว่า เมื่อถึงที่เกิดเหตุ พบผู้บาดเจ็บกระเด็นออกนอกรถ มีพลเมืองดี จับผู้บาดเจ็บอยู่ ไม่รู้สึกตัว ไม่มีการหายใจ ไม่มีชีพจร มีเลือดออกจากปากและจมูก จึงร้องขอสนับสนุนรถกู้ชีพระดับสูงจาก รพ.ประจวบคีรีขันธ์ และเริ่ม CPR ทันที พร้อมทั้งส่งต่อให้รถกู้ชีพ ซึ่งระหว่างทาง ผู้บาดเจ็บเริ่มมีชีพจรและความดันโลหิต และช่วยฟืนคืนชีพอีก 8รอบที่โรงพยาบาลก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะเสียชีวิต

อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่สอบสวน ณ จุดเกิดเหตุ โดยนักสื่อสารกู้ชีพและนางลั่นทม งุ่ยไก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9  ต.อ่าวน้อย อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ทีม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่กู้ชีพ และชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง พบรายละเอียดว่า ถนนนิคม กม.14 เป็นถนนในหมู่บ้าน ลาดยาง พื้นเป็นหลุมขนาดผ่าศูนย์กลาง 20 -30 ซม. ผ่านการซ่อมแซมพื้นถนน โดยชุมชนร่วมกันซ่อมพื้นถนนโดยใช้ปูนซีเมนต์ เทกลบหลุมดังกล่าว ทำให้พื้นเป็นปุ่มๆ ทั่วไป ตารางเมตรละประมาณ 6- 8 หลุม ยาวประมาณ 10 เมตร ถนนเป็นเส้นตรง ข้างทางบริเวณรอยล้อรถที่เสียหลักมีกอต้นไม้ 1 กอ และรถหักขึ้นบนถนนก่อนที่จะพลิกคว่ำ โดยพลเมืองดีที่เห็นเหตุการณ์แจ้งว่า เห็นรถเสียหลัก ลงข้างทางก่อนพลิกคว่ำสองตลบ

 ทั้งนี้ข้อมูลจากนิธิไทยโรดส์และเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน พบว่าอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย ปี 2554 ลดลงจากร้อยละ61 เหลือ ร้อยละ 58 และจากสถิติอัตราการคาดเข็มขัดนิภัยในกลุ่มผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน 3ปี ย้อนหลัง มีเพียง ร้อยละ 28 ,26 และ 25ตามลำดับ (ข้อมูลของเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (injury surveillance) สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ซึ่งการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ถึง ร้อยละ 34เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์นิรภัยติดรถยนต์ ที่มีประสิทธิภาพ สามารถช่วยลดความรุนแรงให้กับผู้ขับขี่ และผู้โดยสารรถยนต์จากอันตรายในกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุ ปัจจุบันจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่ติดมากับรถ การนั่งรถยนต์ของเด็ก ควรมีเบาะนั่งสำหรับเด็ก ในรถเด็ก วัยซนหรือรถเกิด ตกหลุม เด็กอาจตกจากเบาะรถได้ อย่างไรก็ตามพลเมืองดีหรือผู้ประสบเหตุเมื่อพบเห็นเหตุการควรรีบโทรแจ้งสายด่วน1669 เพื่อให้รีบเข้ามาช่วยเหลือทางการแพทย์ และผู้ประสบเหตุไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยตนเอง เพราะการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บเพิ่มขึ้น และ การมีหน่วยกู้ชีพในพื้นที่ ทำให้เข้าถึงที่เกิดเหตุได้รวดเร็ว

///////////////////////////////////////////////////// 

ศรีไพร ทัพพะรังสี นักสื่อสารกู้ชีพจังหวัดประจวบคิรีขันธ์และพยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลประจวบคิรีขันธ์รายงาน